|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เจ้าของผลงาน : นางดรรชนีย์ จันทร์ถอด
พฤหัสบดี ที่ 29 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2562
เข้าชม : 3165 จำนวนการดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6/3 จำนวน 36 คน ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยการจับสลาก
ใช้ห้องเรียนในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ
ทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา และปฏิบัติงานได้หลากหลายโดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ และความรู้ด้านเทคโนโลยี จากการสัมภาษณ์ครู ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ควรให้นักเรียนระดับประถมศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสามารถในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ต่าง ๆ สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
ที่ต้องการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า OLRCE Model มีองค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน 4) สาระหลัก 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง 7) สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 8) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ 9) การประเมินผล ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Orientation : O)
2) ขั้นเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหา (Learning and Problem solving process : L)
3) ขั้นสะท้อนปัญหา (Reflection : R) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.51/87.13 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
2) ผลความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
|
|
|
|